มุมความรู้
 
 
เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวหอมมะลิแดง

พ.ศ.2525-2527
                จากการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุรินทร์ โดยนายบุญโฮม ชำนาญกุล เป็นผู้อำนวยการสถานี พบว่าในรวงข้าวจำนวนหนึ่งมีเมล็ดที่เป็นข้าวเหนียวปนอยู่ด้วย เข้าใจว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งพบอยู่เสมอ นอกจากนี้เมื่อนำเมล็ดข้าวปนไปปลูก พบว่า ในกอหนึ่งให้เมล็ดที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงเรื่อ ๆ มีแป้งทั้งชนิดที่เป็นข้าวเหนียวและข้าวเจ้า


พ.ศ.2529-2533
                 นำเฉพาะเมล็ดข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเป็นสีแดงมาปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกเพื่อการคัดเลือก จนในปี พ.ศ.2533 มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง พบว่ามีสายพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลาย และคัดได้สายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักดีเด่นที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไว้


พ.ศ.2535
                 เกษตรกรที่อยู่ใกล้ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ดีเด่นไปปลูกและแปรรูปผลผลิตเป็นข้าวกล้องแดงจำหน่าย


พ.ศ.2536
                พบว่า อายุสุกเก็บเกี่ยวของข้าวแดงหอมในแปลงเกษตรกรยังมีการกระจายตัว ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกจึงนำสายพันธุ์ข้าวเบาและข้าวหนักมาคัดเลือกใหม่ในปี พ.ศ.2538 ได้สายพันธุ์ KDML105R-PSL-E-14  ซึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวเบาที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และกรมการข้าวได้เสนอขอขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรเป็นพันธุ์ข้าวทั่วไปโดยใช้ชื่อว่า“ข้าวหอมแดง (Red Hawm Rice)”และด้วยมีที่มาจากข้าวหอมมะลิ105บ้างจึงเรียกข้าวชนิดนี้ว่า“ข้าวหอมมะลิแดง”

ลักษณะประจำพันธุ์
        เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง ลำต้นสุง 120 X 130 เซนติเมตร เป็นข้าวไวแสง อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ กลางเดือน พฤศจิกายน  ใบมีสีเขียวอ่อน ใบโน้ม ใบธงตก  ลำต้นแข็ง กอตั้ง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนาดเมล็ดข้าวกล้อง 2.1 X 7.5 X 1.7 ม.ม. ผลผลิตเฉลี่ย 643 ก.ก./ไร่  ข้าวสุก นุ่มเหนียว หอมเหมือนข้าวขาวมะลิ 105 



            
 
Free Web Hosting